พช. ควง ท่องเที่ยวกีฬา-ม.ราชภัฏ ปลูกผักสวนครัวและพืชสมุนไพร ต้านภัยโควิด-19 แปลง “โคก หนอง นา พช. เฮือนฮ่วมแฮง” ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุบลราชธานี
วันที่ 14 สิงหาคม 2564 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ดร.ปะนะชัย คำสิงห์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายภคิน ศรีวงศ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และนายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิด จังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ พลเอก นิรุทธ เกตุสิริ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดำรงชัย โสกัณฑัต คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ อาจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ สุทธิลักษมุนีกุล รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย อาจารย์อัสนี อำนวย ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการชุมชน พร้อมคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในโอกาสที่ได้มาร่วมกิจกรรมปลูกผักสวนครัวและพืชสมุนไพร เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และป้องกันบรรเทาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อาทิเช่น ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว ขิง ณ ศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช.” เฮือนฮ่วมแฮง บ้านหนองบัวฮี หมู่ที่ 2 ตำบลหนองบัวฮี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ในการเยี่ยมเยือนพื้นที่ในครั้งนี้ ของพัฒนาการจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นายกสภาฯ ผู้บริหาร และคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้เป็นกำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อประสานเครือข่าย ขยายผลการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะการติดตามผลผลิตที่ได้รับการสนับสนุนและการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่พึ่งของท้องถิ่นชุมชน โดยมี นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดระดับจังหวัด และเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช. เฮือนฮ่วมแฮง” เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 สอดคล้องกับแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน ในการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช.” เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามที่กำลังประสบปัญหาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
โอกาสนี้ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ได้เปิดเผยว่า “ขอฝากให้ทุกท่านได้ร่วมกันปลูกพืชผักสมุนไพร เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และป้องกันและบรรเทาโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน เช่น กระเพรา พริก โหระพา กระชายขาว กระชายดำ มะนาว เป็นต้น นอกจากนั้น ยังขอให้ตระหนักถึงความสำคัญของดิน ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก เป็นแหล่งผลิตอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเชื้อเพลิง ซึ่งวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีนั้น ถือเป็นวันดินโลก (World Soil Day) เป็นวันสำคัญที่นักปฐพีวิทยาทั่วโลก จะเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี ซึ่งนักปฐพีวิทยาของไทยทุกคนภาคภูมิใจ เนื่องจากวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กิจกรรมในครั้งนี้ จึงถือเป็นการเชิดชูพระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรดินของพระองค์ด้วย”
ด้าน นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้พบปะกับเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ฯ ว่า “ผมขอชื่นชมการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และขยายผลโครงการ “โคก หนอง นา พช.” ตามนโยบายของรัฐบาล และกรมการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ “เฮือนฮ่วมแฮง” นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาชุมชนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในชุมชนมีความรักสามัคคี เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นแหล่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร และปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้ป้องกันบรรเทาโรคโควิด-19 รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ซึ่งเป็นการน้อมนำเอาแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาสืบสาน รักษา ต่อยอด และสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ขอเป็นกำลังใจให้คุณอัมพร วาภพ และทีมงาน ขอขอบคุณที่ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่าย ตลอดจนดูแลพี่น้องประชาชนด้วยดีตลอดมา ขอให้มีความสุขและความเจริญยิ่งขึ้นไป” พลเอก นิรุทธ กล่าวอย่างมีความสุข
ขณะที่ นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดระดับจังหวัด และเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช. เฮือนฮ่วมแฮง” ได้เปิดเผยว่า “ศูนย์เรียนการเรียนรู้เฮือนฮ่วมแฮง ก่อตั้งในปี พ.ศ.2561 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีความครอบคลุมในการบริการสังคม ทั้งการจัดอบรม ฐานการเรียนรู้และการศึกษา และมีภารกิจสำคัญคือการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนให้การบริการชุมชนและส่งเสริมการเรียนรู้สัมมาชีพชุมชน บนพื้นที่ 12.5 ไร่ ในการสร้างแรงบัลดาลใจ แลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับชุมชนและคนรุ่นใหม่ที่สนใจกลับคืนบ้านเกิด โดยมีภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และขอรับบริการจัดฝึกอบรมให้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน” โดยใช้พลังเครือข่ายที่มีความรู้ ความสามารถทั้งด้านงานช่าง งานเกษตร งานผลิตสื่อ ภูมิปัญญาชุมชน และศิลปะ ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาให้กับกลุ่มบุคคล หน่วยงานที่สนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการความสุข และแบ่งปัน สร้างสรรค์สังคมให้อยู่ดีมีสุข มั่งคั่ง ยั่งยืน บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือที่มาของคำว่า “ฮ่วมแฮง” คือ “ร่วมแรง“ สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณท่านพัฒนาการจังหวัด ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัด นายกสภาฯ ผู้บริหารและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ทุกท่าน ที่เป็นแรงบันดาลใจและต้นแบบดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้นำต้องทำก่อน” นายอัมพร กล่าวปิดท้ายด้วยความภาคภูมิใจ
สอบถามข้อมูล ศูนย์การเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช.” เฮือนฮ่วมแฮง ได้ที่ นายอัมพร วาภพ หมายเลขโทรศัพท์ 083-101-9282
#WorldSoilDay
#GlobalSoilPartnership
#UNFAO
#กรมการพัฒนาชุมชน
#CDD
#SEPtoSDGs
#SDGforAll@Kmitl
#WorldSoilDayCDD
อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี ภาพข่าว/รายงาน