รมช.ประภัตร ลงพื้นที่รณรงค์ควบคุม ป้องกันโรคลัมปี สกิน และกำกับดูแลการฉีดวัคซีน LSDV
วันที่ 20 มิถุนายน 2564 ที่คาวบอยแลนด์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่รณรงค์ควบคุม ป้องกันโรคลัมปี สกิน และกำกับดูแลการฉีดวัคซีน LSDV และเป็นประธานพิธีเปิดโครงการรณรงค์ควบคุมและ
ป้องกันโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease : LSD) พร้อม Kick off ฉีดวัคซีน (LSDV)ในโค-กระบือ โดยมีนายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ดร.พาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดนครปฐม หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ตลอดจนเกษตรกรและผู้นำภาคประชาชนเข้าร่วมงานครั้งนี้
สถานการณ์วัคชีน (LSDV) ที่ไม่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง (เถื่อน) ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในพื้นที่นี้ ขอให้เกษตรกรพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ตามได้ทราบข่าวมาวัคซีนเถื่อนดังกล่าวยังไม่ผ่านมาตรฐานจาก อย. ไม่แนะนำให้เกษตรกรซื้อมาฉีดเอง หากเกษตรกรจัดหาวัคซีนด้วยตนเอง ขอให้รวมตัวกันติดต่อผ่านกรมปศุสัตว์เพื่อความถูกต้องและความปลอดภัย
สำหรับการฉีดวัคซีนของกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งจากห้ามาตรการในการระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค โดยจะต้องมีการฉีดให้เป็นไปตามแผ่นทางกรมปศุสัตว์ที่วางไว้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการใช้วัคซีนเป็นมาตรการหนึ่งที่กรมปศุสัตว์ มีคณะกรรมการบริหารจัดการวัคซีนฯ พิจารณากำหนดแผนการฉีดวัคซีนที่เป็นไปตามหลักวิชาการ ตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการฉีดวัคชีนลัมปี สกิน ในสัตว์ชนิดโค-กระบือพ.ศ.2564 เพื่อให้เป็นแผนเดียวกัน มีความปลอดภัยต่อสัตว์ มีการประเมินความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนในพื้นที่ และประเมินประสิทธิภาพความคุมโรคหลังจากฉีดวัคซีนด้วย
รมช.ประภัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์ได้มีการนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน (LSDV) มาแล้วล็อตแรก 60,000 โดส ล็อตที่สอง 30,000 โดส และขณะนี้มีภาคเอกชนพร้อมสนับสนุนการนำเข้าวัคซีนเพิ่มอีกนับล้านโด้ส เพื่อให้เพียงพอ และสามารถหยุดการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมปศุสัตว์มีความพร้อมผลักดันร่วมกับภาคเอกชนในการนำเข้าวัคซีน เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ทั้งนี้วัคซีนล็อตแรกได้ถูกกระจายไปยัง
พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศตามความเหมาะสมแล้ว โดยในวันนี้ได้นำวัคซีนลัมปี สกิน จำนวน 1,000 โดส มามอบให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ส่วนมาตรการเยียวยาเกษตรกรจากกรณีโค-กระบือ ตายจากโรคลัมปี สกิน นั้น เบื้องต้นการเยียวยาเกษตรกรจากกรณีโค-กระบือตาย ด้วยโรคลัมปี สกิน จะมีอัตราเงินชดเชยรายได้ให้เกษตรกรเจ้าของโค-กระบือตามจริงแต่ไม่เกินรายละ 2 ตัว และจะจ่ายเงินเยียวยาตามอายุสัตว์ที่ตาย รายละเอียดตามระเบียบที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ รมช.ประภัตร ยังได้แนะนำโครงการประกันโค-กระบือ ของกรมปศุสัตว์ให้กับ
เกษตรกรในพื้นที่ โดยติดต่อสอบถามรายละเอียดกับ ธกส.สาขาใกล้บ้านของเกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือต่อไป
…………………
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม ภาพ/ข่าว