สุพรรณบุรี ฉีดวัคซีนโควิดให้กับบุคลากรทางการแพทย์และด่านหน้าผลข้างเคียงเล็กน้อย
ที่โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีวันที่ 23 เมษายน 2564 ทีมแพทย์โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชได้เร่งฉีดวัคซีนไวรัสcovid-19ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุขและผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าประกอบด้วย อสม. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในพื้นที่ อ.เมืองสุพรรณบุรี หลังจากได้รับวัคซีน ครั้งที่ 2 กว่า 1,800 โดส
นายแพทย์พงษ์นรินทร์ ชาติรังสรรค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชกล่าวว่า วันนี้ทางโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชทำการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด19ครั้งที่ 2 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลเอกชน อสม.เจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานหน้าด่านในพื้นที่ทั้ง10อำเภอรวมจำนวนรวมจำนวน4,080คนและกำหนดฉีดให้กลุ่มเป้าหมายเข็มที่ 1 ภายในวันนี้ส่วนเข็มที่ 2 จะได้รับหลังจากเข็มที่ 1 ห่างกันประมาณ 3 สัปดาห์โดยขั้นตอนก่อนฉีดวัคซีนต้องมีการคัดกรองซักประวัติผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนว่ามีโรคประจำตัว มีอาการแพ้ยาหรือไม่ ถ้าผ่านเกณฑ์ก็รับบริการฉีดวัคซีนได้ เมื่อฉีดแล้วมีจุดนั่งพักนาน 30 นาที เพื่อดูอาการข้างเคียง แต่ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ได้ฉีดวัคซีนสำหรับวัคซีนที่ฉีดในวันนี้เป็นของ ชิโนแวต (Sinovac) เริ่มฉีดเข็มแรกตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2564 จำนวน 900 คน ส่วนประชาชนทั่วไปคาดว่าจะเริ่มฉีดเข็มแรกในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 ส่วนผลข้างเคียงหลังการฉีดก็จะมีอาการปวดเมื่อยกล้าเนื้อเพียงเล็กมีประมาณ 20 เปอร์เซน เท่านั้น
ในส่วนของโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช กรณีที่มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิดนั้นขณะนี้ได้รักษาหายแล้วและบุคลากรที่เหลืออีกประมาณ 2,000รายเราได้ตรวจหาเชื้อทั้งหมดแล้วไม่พบการติดเชื้อ ดังนั้นการให้บริการด้านต่างๆนั้นเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติทางโรงพยาบาลสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในโรงพยาบาลเอาไว้ได้แล้ว ต้องชื่นชมบุคลากรของโรงพยาบาลที่สามารถขีดวงการะบาดเอาไว้ได้อย่างรวดเร็วทำให้การแพร่กระจายอยู่ในวงที่ 1 และวงที่ 2 จึงทำให้การบริการของทางโรงพยาบาลเปิดจนเกือบครบแล้วเหลือเพียงบางหัตถการเช่นการกรอฟันซึ่งเป็นการฟุ้งกระจายนั้นต้องรอก่อน ขณะนี้บุลาการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช พร้อมแล้วที่จะให้บริการพี่น้องประชาชนแต่อย่างไรก็ตามเราได้ยึดถือการแพทย์วิถีใหม่หรือบริการแบบนิวนอร์มอล พยายามให้คนไข้มารับบริการให้ห่างขึ้นมีกระบวนการส่งยาทางไปรษณีย์ พยายามนัดคนไข้ให้ห่างขึ้นจัดที่นั่งเว้นระยะเราได้ประชุมหารือกับทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลว่าถ้าคนไข้อาการไม่หนักไม่ต้องเข้ามาที่โรงพยาบาลศูนย์
ภัทรพล พรมพัก /สุพรรณบุรี